เค้าโครงงาน


แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รายวิชา
  โครงงานคอมพิวเตอร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)
ปีการศึกษา
 2556
----------------------------------------------------
1. ชื่อโครงงาน    เรื่อง การทำปาท่องโก๋
2. ประเภทของโครงงาน  (เลือก 1 โครงงาน)
               
þโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
               
qโครงงานพัฒนาเครื่องมือ
               
qโครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี
                qโครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน
               
qโครงงานพัฒนาเกม
3. ชื่อ สกุล  ผู้เสนอโครงงาน  
               
นางสาว วรรณิกา   อาจสุนทร             ชั้น  ม.6/5      เลขที่      34
                นางสาว บงกชพร   ก้อนเพ็ชร์             ชั้น  ม.6/5      เลขที่      36
นางสาว อันธิกา  บุญต่าย                     ชั้น    ม.6/5      เลขที่      37
4. ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน
                นางสาวดรุณี  บุญวงค์
5. ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงานร่วม (ถ้ามี)
               
-
6. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
ปาท่องโก๋ที่คนไทยเรียกนั้น แท้จริงแล้วมีชื่อเรียกว่า อิ่วจาก้วย ตามภาษาแต้จิ๋ว หรือภาษาฮกเกี้ยน อิ่วเจี่ยโก้ย หรือ เจี่ยโก้ย (จีนตัวเต็ม: 油炸粿; จีนตัวย่อ: 油炸粿) โดยมีที่มาจาก สมัยราชวงศ์ซ้อง ที่มีขุนนางกังฉินชื่อว่า "ฉินข้วย" หรือ "ฉินฮุ่ย" (จีนตัวเต็ม: 秦檜; จีนตัวย่อ: 秦桧) มีความอิจฉาริษยา นายทหาร "เยียะเฟย" หรือ แม่ทัพงักฮุย (จีนตัวเต็ม: 岳飛; จีนตัวย่อ: ) จึงได้วางแผนให้ฮ่องเต้เรียกตัวงักฮุยกลับจากแนวหน้า และ ฉินข้วย ทำให้เขาถึงแก่ชีวิตในเวลาต่อมา ข่าวล่วงรู้ไปถึงประชาชนจึงโกรธแค้นแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ช่วงนั้นชาวจีนนิยมรับประทานแป้งทอดอยู่แล้ว จึงมีคนคิดเอาแป้งสองชิ้นมาประกบกันเพื่อเป็นตัวแทนขุนนางกังฉินกับภรรยาชื่อหวังฮูยินแล้วนำมาทอดกินเพื่อระบายความแค้น เรียกว่า อิ่วจาก้วยหมายถึง น้ำมันทอดฉินข้วย
ส่วนที่คนไทย เรียกว่า ปาท่องโก๋ นั้น เพราะจำมาผิด เนื่องจาก สมัยก่อนชาวจีนที่ขายปาท่องโก๋ (ขนมน้ำตาลทรายขาวซึ่งออกเสียงว่า แปะทึ่งกอ หรือ แปะถึ่งโก้) มักจะขายเอิ่วจาก้วยด้วย พอคนขายตะโกนขายปาท่องโก๋ จึงเข้าใจว่า ปาท่องโก๋ คือ แป้งทอดอิ่วจาก้วย นั่นเอง แต่ในพื้นที่ภาคใต้ผู้คนยังคงนิยมเรียกว่า อิ่วเจี่ยโก้ย อยู่หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า เจี่ยโก้ย ตามแบบภาษาฮกเกี้ยน 
          ปาท่องโก๋เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสองชิ้นประกบกันแล้วทอด นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า โดยทานคู่กับกาแฟ,โกโก้,น้ำเต้าหู้ หรือ โจ๊ก
          ปาท่องโก๋ที่คนไทยเรียกนั้น แท้จริงแล้วมีชื่อเรียกว่า อิ่วจาก้วย  โดยมีที่มาจาก สมัยราชวงศ์ซ้อง ที่มีขุนนางกังฉินชื่อว่า "ฉินข้วย" หรือ "ฉินฮุ่ย"มีความอิจฉาริษยา นายทหาร "เยียะเฟย" หรือ แม่ทัพงักฮุย  จึงได้วางแผนให้ฮ่องเต้เรียกตัวงักฮุยกลับจากแนวหน้า และ ฉินข้วย ทำให้เขาถึงแก่ชีวิตในเวลาต่อมา ข่าวล่วงรู้ไปถึงประชาชนจึงโกรธแค้นแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ช่วงนั้นชาวจีนนิยมรับประทานแป้งทอดอยู่แล้ว จึงมีคนคิดเอาแป้งสองชิ้นมาประกบกันเพื่อเป็นตัวแทนขุนนางกังฉินกับภรรยาแซ่หวัง แล้วนำมาทอดกินเพื่อระบายความแค้น เรียกว่า อิ่วจาก้วยหมายถึง น้ำมันทอดฉินข้วย
ส่วนที่คนไทย เรียกว่า ปาท่องโก๋ นั้น เพราะจำมาผิด เนื่องจาก สมัยก่อนชาวจีนที่ขายปาท่องโก๋ (ขนมน้ำตาลทรายขาว) มักจะขายอิ่วจาก้วยด้วย
พอคนขายตะโกนขายปาท่องโก๋ จึงเข้าใจว่า ปาท่องโก๋ คือ แป้งทอดอิ่วจาก้วย นั่นเอง แต่ในพื้นที่ภาคใต้ผู้คนยังคงนิยมเรียกว่า อิ่วจาก้วย อยู่หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า จาก้วย
ตามแบบสำเนียงใต้


โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ulead sudio
           Ulead นั้นก็สามารถที่จะจับภาพแบบ analog ได้เช่นกัน ในกรณีนี้ คุณจะต้องหาการ์ดจับภาพเช่นการ์ดรับโทรทัศน์ที่เป็นแบบ analog มาใช้งาน การใช้งานนั้นก็เหมือนกับการ firewire
ส่วนติดต่อกับผู้ใช้    
โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ Ulead VideoStudio
โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ Ulead VideoStudio
1. Step Panel
      กลุ่มของปุ่มที่ใช้สลับไปมาในขั้นตอนต่างๆ ของการตัดต่อวีดีโอ เช่น ต้องการจับภาพจากกล้องวีดีโอก็คลิกปุ่ม Capture หากต้องการแก้ไข/ตัดต่อวีดีโอ คลิกปุ่ม Edit ต้องการใส่ข้อความในวีดีโอ คลิกปุ่ม Title เป็นต้น
2. Menu Bar
     แถบเมนูของชุดคำสั่งต่างๆ เช่น สร้างโครงการใหม่ เปิดโครงการ บันทึกโครงการ เป็นต้น
3. Options Panel
      ส่วนนี้จะมี ปุ่มและข้อมูลอื่นๆ ที่ให้คุณได้ปรับแต่งคลิปที่คุณเลือกไว้ ฟังชั่นก์ต่างๆ ในส่วนนี้จะเปลี่ยนไปตามขั้นตอนที่คุณกำลังทำงานอยู่ เช่น คุณเลือกคลิปวีดีโอ ก็จะมีฟังก์ชั่นต่างๆ สำหรับจัดการกับคลิปวีดีโอ หรือคุณเลือกเสียง ก็จะมีฟังก์ชั่นสำหรับการจัดการเรื่องเสียง เป็นต้น
4. Preview Window
      หน้าต่างแสดงคลิปปัจจุบัน, ตัวกรองวีดีโอ, เอฟเฟ็กต์, หรือตัวหนังสือ ต้องการดูผลลัพธ์ของการตัดต่อต่างๆ สามารถดูได้ในหน้าต่างนี้
5. Navigation Panel
      มีปุ่มสำหรับเล่นคลิปวีดีโอและสำหรับตัดวีดีโอ ในขั้นตอนการจับภาพ, ส่วนนี้จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ควบคุมกล้องวีดีโอ เช่น เล่นวีดีโอ หยุด หยุดชั่วขณะ กรอไปข้างหน้า กรอกลับ เป็นต้น
6. Library
      เก็บและรวบรวมทุกอย่างไว้ ไม่ว่าจะเป็น วีดีโอ, เสียง, ภาพนิ่ง, เอฟเฟ็กต์ต่างๆ เป็นต้น ทำให้สะดวกในการเรียกใช้งาน
7. Timeline
      แสดงคลิป, ตัวหนังสือและเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ที่อยู่ในโครงการ

Step Panel
            ส่วนนี้เป็นส่วนของขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ ขั้นตอนเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องทำทุกขั้นตอน หรือข้ามขั้นตอนใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตัดต่อวีดีโอของคุณเอง
ขั้นตอนตัดต่อคือ
1.Capture (จับภาพจากกล้อง/ดึงข้อมูลวีดีโอจากแผ่น CD/DVD)
2.Edit (แก้ไข/ตัดต่อ)
3.Effect (ใส่เอ็ฟเฟ็กต์)
4.Overlay (ทำภาพซ้อน)
5.Title (ใส่ตัวหนังสือ)
6.Audio (ใส่ดนตรีประกอบ/บันทึกเสียงบรรยาย)
7.Share (บันทึกวีดีโอที่ตัดต่อแล้ว ลงสื่อต่างๆ)
            ขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น สามารถข้ามไปยังส่วนอื่นได้ เช่น อาจจะไปใส่ดนตรีประกอบก่อน แล้วมาใส่ตัวหนังสือภายหลังก็ได้ หรือเมื่อตัดต่อเสร็จในข้อ 2 แล้วก็อาจจะไปเลือกข้อ 7 เพื่อเขียนลงแผ่นก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำครบทุกขั้นตอน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะตัดต่อวีดีโออย่างไร และต้องทำอะไรบ้างในการตัดต่อ
ขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ
    เมื่อเปิด project ใน Ulead แล้ว ในขั้นตอน Capture นี้ คุณสามารถที่จะบันทึกวีดีโอจากกล้องวีดีโอดิจิตอลเป็นไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ได้ วีดีโอที่บันทึกจากกล้องลงคอมพิวเตอร์นั้น สามารถที่จะบันทึกเป็นไฟล์เพียงไฟล์เดียว หรือให้แยกเป็นไฟล์ได้หลายๆ ไฟล์โดยอัตโนมัติ และในขั้นตอนการจับภาพนี้ นอกจากคุณจับภาพวีดีโอแล้วยังสามารถที่จะบันทึกภาพจากวีดีโอเป็นภาพนิ่งได้อีกด้วย
    ขั้นตอนการแก้ไขและ Timeline นี้ เป็นจุดสำคัญของการใช้ Ulead VideoStudio ในขั้นตอนนี้คุณสามารถที่จะเรียงลำดับคลิปวีดีโอ ที่ถ่ายมาแต่ไม่ได้เรียงลำดับเหตุการณ์กัน ก็มาเรียงลำดับเหตุการณ์ในขั้นตอนนี้ หรือแทรกคลิปวีดีโออื่นๆ เข้ามาในกระบวนการตัดต่อ เช่น หลังจากที่คุณจับภาพมาจากกล้องแล้ว เห็นว่าคลิปวีดีโอที่มีอยู่ในเครื่อง เหมาะสม น่าที่จะนำมาแทรกในบางช่วงของวีดีโอที่คุณกำลังตัดต่อ ก็สามารถทำได้ กรณีที่มีคลิปวีดีโอเพียงไฟล์เดียว เช่น จับภาพวีดีโอมาเป็นไฟล์เดียว ไม่ได้แยกไฟล์เป็นหลายๆ ส่วน ก็สามารถตัดแยก scene วีดีโอได้ เพื่อใส่เอ็ฟเฟ็กต์ระหว่าง scene ลบคลิปวีดีโอที่ไม่ต้องการออก ตัดคลิปวีดีโอบางส่วนที่ถ่ายเสียหรือไม่ต้องการออก และการใส่วีดีโอฟิลเตอร์ (เช่น การใส่ตัวฟิลเตอร์ฝนตกในคลิปวีดีโอ ทำให้คลิปวีดีโอนั้นดูเหมือนมีฝนตกจริงๆ ) ก็สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้เช่นกัน
    ในขั้นตอนนี้ ให้คุณสามารถใส่ทรานสิชั่น (transition) ระหว่างคลิปวีดีโอใน project ซึ่งใน Ulead นี้จะมีกลุ่มของทรานสิชั่นต่างๆ ให้เลือกอย่างมากมายใน Library
ทรานสิชั่น เป็นเอ็ฟเฟ็กต์ที่ใส่ไว้ในระหว่างคลิป ทำให้วีดีโอดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น ฉากที่ค่อยๆ จางหายไปจนมืด แล้วก็มีฉากถัดไปที่จางแล้วค่อยๆ ชัดเจนขึ้น หรือ ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนฉากนั้น จะมีภาพซ้อนกันของทั้งสองฉาก เป็นต้น นี่เป็นการใส่ทรานสิชั่นนั่นเอง
    ขั้นตอนนี้เป็นการซ้อนคลิปวีดีโอบนคลิปวีดีโอที่มีอยู่ เหมือนกับที่เราดูโทรทัศน์ ที่มีการสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับดารา แล้วก็มีกรอบเล็กๆ เป็นภาพของดาราที่กำลังดูบุคคลอื่นพูดถึงตนเองอยู่
    ใส่ตัวหนังสือในวีดีโอ เช่น ชื่อเรื่องวีดีโอ แสดงชื่อบุคคล หรือตัวหนังสือปิดท้ายวีดีโอ ใครถ่ายทำ ถ่ายเมื่อไหร่ ที่ไหน เป็นต้น สามารถที่จะสร้างตัวหนังสือแบบเคลื่อนไหวได้ มีมากมากหลายแบบ เช่น ตัวหนังสือลอยจากจอภาพด้านล่างขึ้นไปด้านบน เหมือนกับตัวหนังสือเมื่อดูภาพยนตร์ตอนจบ หรือจะวิ่งจากด้านขวามือมาซ้ายมือ หรือจะเลือกชุดสำเร็จรูปจาก Library ก็ได้
    ขั้นตอนนี้สำหรับใส่ดนตรีประกอบวีดีโอ สามารถเลือกเพลงจากแผ่น CD แล้วบันทึกมาเป็นไฟล์ทำดนตรีประกอบได้ บันทึกเสียงบรรยายวีดีโอ รวมทั้งการปรับแต่งเสียงต่างๆ เช่น ลดเสียงในวีดีโอต้นฉบับในบางช่วงขณะที่บันทึกเสียงบรรยายลงไป เพื่อให้ได้ยินเสียงบรรยายชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือปรับระดับเสียงของดนตรีประกอบ เป็นต้น
    ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย เมื่อตัดต่อวีดีโอเสร็จแล้ว ก็จะเป็นสร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงาน สามารถทำได้หลายแบบ เช่น สร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงานบนเว็บ เขียนวีดีโอที่ตัดต่อเสร็จแล้วกลับลงเทปอีกครั้ง เขียนลงแผ่น CD เป็น VCD หรือเขียนลง DVD
7. วัตถุประสงค์   
          1. เพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการทำปลาท่องโก๋
                2. เพื่อเป็นการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ
                3. เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพอิสระ
8. หลักการและทฤษฎี
                การทำปาท่องโก๋ จำเป็นที่จะต้องเตรียมอุปกรณ์ และวัตถุดิบในการทำ ต้องมีการเตรียมสูตรและเคล็ดลับพิเศษที่จะทำให้ปาท่องโก๋มีความอร่อยที่แตกต่างกันไปโดยแต่ละประเภทก็จะให้รสชาติความกลมกล่อมที่แตกต่างแล้วแต่ความชอบส่วนตัว และค่านิยมของแต่ละบุคคลซึ่งสูตรของปาท่องโก๋ก็มีอยู่มากมายให้เลือก แต่ในขั้นตอนการเตรียมโก๋ก็มีอยู่มากมายให้เลือก แต่ในขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบนั้นจะคลายคลึงกันดังนี้
         เครื่องปรุง
แป้งสาลี
ผงฟู
ยีสต์แห้ง
น้ำ
เกลือป่น
น้ำตาลทราย
โซดาไบคาร์บอเนต (ยีสต์)
เช้าก่า (เชื้อแอมโมเนีย ,แอมโมเนียไบคาร์บอเนต)
2
1/2
1/3
7 1/2
1/2
4
1/8
2 1/2
กก.
ช้อนชา
ช้อนชา
ถ้วยตวง
ขีด
ช้อนโต๊ะ
ช้อนชา
ช้อนโต๊ะ
                     
          อุปกรณ์
- กระทะก้นลึกเป็นเหล็ก เบอร์ 22 หรือ 24 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง 18 - 20 นิ้ว ซื้อตามร้านขายกระทะเหล็ก
- เตาแก๊ส ที่มีหัวเร่งไฟ เพราะใช้ความร้อนสูง
- กระบะแป้ง ซื้อไม้อัดตามร้านมาตัดให้ได้ส่วนตามต้องการ หรือใช้โต๊ะแม็กกาไล้
- ตะเกียบยาว กระชอนตัก กาละมังรองน้ำมัน พายปาดแป้ง(พลาสติก) ที่ร่อนแป้ง ถ้วยตวงของเหลว ถ้วยตวงของแห้ง ช้อนตวง ซื้อตามร้านขายอุปกรณ์ทำขนมเค้ก หรือร้านขายแป้งทำขนม
- แป้งสาลีต้องใหม่ โซดาไบคาร์บอเนต (ผงสีขาวเหมือนผงฟู) เช้าก่า (เหมือนเกลือป่นละเอียด สีขาวสะอาด มีกลิ่นเหม็นฉุน ช่วยทำให้ปาท่องโก๋ขึ้นพอง) น้ำตาลทราย ยีสต์ ผงฟู ทั้งหมดต้องเป็นของใหม่ ไม่หมดอายุ
- น้ำมันควรเป็นน้ำมันพืช(ควรใช้น้ำมันปาล์ม) ต้องใหม่
          วิธีทำ
1. น้ำ ผงฟู ยีสต์แห้ง และแป้ง(ร่อนก่อน) ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นส่วนผสมที่เป็น ส่วนแป้ง
2. นำน้ำผสมเกลือป่น น้ำตาล โซดาไบคาร์บอเนต เช้าก่า ตามส่วน เป็นส่วนผสมที่เป็น ส่วนน้ำ
3. นำส่วนผสมของส่วนน้ำ เทใส่ลงในส่วนแป้ง ที่เตรียมไว้ในกาละมังสำหรับนวดแป้ง นวดทั้งหมด ผสมรวมกัน ด้วยมือ เคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน ใช้เวลานวด 5 - 7 นาที ให้แป้งเข้ากันดี ทิ้งแป้งไว้ 4 - 7 ชั่วโมง เป็นการหมักแป้ง ให้ขึ้น ก่อนนำมาทอด ใช้ฝาปิดให้มิดชิดอย่าให้ลมเข้า เพราะจะทำให้แป้งแห้ง
ถ้าต้องการจะทำปาท่องโก๋คู่ ให้ใช้สูตรเดียวกันนี้ เพียงแต่ลดน้ำลง 1 ถ้วยตวง ต่อแป้ง 2 กก. นวดแป้งให้นุ่มมือ หมักแป้ง 4 - 7 ชั่วโมง
          เตรียมการทอด
เมื่อหมักแป้งได้ที่แล้วนำแป้งเทลงในกระบะไม้ หรือบนโต๊ะแม๊กกาไลท์ ที่เตรียมไว้ เตรียมน้ำมันที่จะทอด ใช้ แป้งสาลีเป็นแป้งฝุ่นโรยเพื่อไม่ให้แป้งติดมือ เมื่อตัดแป้งแล้ว ใช้กลางฝ่ามือ หรือปลายนิ้วคลึงให้เป็นเส้นกลม ขนาดยาวประมาณ 1 คืบ แล้วใช้มือขวาจับตรงกลางแป้ง มือซ้ายจับปลายเส้นแป้ง ด้านซ้ายยกขึ้น แล้วตวัด ปลายแป้งที่เหลืออีกด้านหนึ่งเข้าหาตัว ให้ได้เป็นเกลียว แล้วนำลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนได้ที่ ทอดจนเหลือง อ่อน ใช้ไม้ตะเกียบคีบกลับไปมา พอเหลืองกรอบ คีบขึ้นใส่ตะแกรง พักทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน ก่อนขาย
         ปาท่องโก๋คู่
นำแป้งมาคลึงบนโต๊ะให้เป็นแผ่น ใช้แป้งโรยให้เนียนมือ ใช้มีดตัดแป้งกว้าง 1/2 ซม. ยาว 2 1/2ซม. เอาไม้เล็ก ๆ จุ่มน้ำแตะที่ตรงกลางชิ้น จับให้ยืด ใส่ลงในน้ำมันร้อนจัด ใช้ตะเกียบไม้คีบพลิกกลับไปมา จนเหลืองกรอบ ใช้ กระจ่าที่มีรูช้อนขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน วางบนกระดาษซับน้ำมัน
9. ขอบเขตของโครงงาน   
1.  วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่
                               
1.1  เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                                1.2  ซอฟแวร์ หรือ โปรแกรม
                                1.3  
อุปกรณ์เพิ่มเติมอื่นๆ เช่น กล้องอัดวีดีโอ
                                1.4  แป้ง
                                1.5  แป้งสาลี อเนกประสงค์
                                1.6  น้ำสะอาด
                                1.7  เกลือป่น
                                1.8  น้ำตาลทราย
                                1.9  แอมโมเนียไบคาร์บอเนทล์
                                1.10 โซดา ไบคาร์บอเนทล์(โซดาเย็น)
                                1.11  ผงฟู
                                1.12  ยีสต์แห้ง
                           1.13 น้ำมันพืช
                           1.14 น้ำตาลทราย
                           1.15 กระทะก้นลึกเป็นเหล็ก เบอร์ 22 หรือ 24 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง 18 - 20 นิ้ว
                                 ซื้อ  ตามร้านขายกระทะเหล็ก
                           1.16 เตาแก๊ส ที่มีหัวเร่งไฟ เพราะใช้ความร้อนสูง
                           1.17 กระบะแป้ง ซื้อไม้อัดตามร้านมาตัดให้ได้ส่วนตามต้องการ หรือ
                                   ใช้โต๊ะแม็ก   กาไล้
                           1.18 ตะเกียบยาว กระชอนตัก กาละมังรองน้ำมัน พายปาดแป้ง(พลาสติก)
                                    ที่ร่อนแป้ง ถ้วยตวงของเหลว ถ้วยตวงของแห้ง ช้อนตวง ซื้อตาม
                                    ร้านขายอุปกรณ์ทำขนมเค้ก หรือร้านขายแป้งทำขนม





10. ขั้นตอนและแผนดำเนินงาน
ที่
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
เดือนมิถุนายน
เดือนกรกฎาคม
เดือนสิงหาคม
สัปดาห์ที่
สัปดาห์ที่
สัปดาห์ที่
1
2
3
4
1
2
3
4
1
2
3
4
1
คิดหัวข้อโครงงาน
ü











2
ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล

ü










3
จัดทำโครงร่างเพื่อนำเสนอ

ü










4
ปฏิบัติการจัดทำโครงงาน


ü









5
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่
1




ü







6
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่
2






ü





7
ปรับปรุง ทดสอบ







ü




6
จัดทำเอกสารรายงานโครงงาน








ü



8
ประเมินผลงาน









ü


9
นำเสนอโครงงานหน้าชั้นเรียน











ü

10. สถานที่ดำเนินงาน
                บ้านเลขที่36 หมู่3 ตำบลทับมา อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
11. งบประมาณ
                500
12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
                1. ผู้สนใจมีความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและวิธีการทำปาท่องโก๋
2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการสร้างสื่อวีดีทัศน์
3. ได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณค่าและทำให้เกิดประโยชน์

13. เอกสารอ้างอิง
                ปาท่องโก๋.(ออนไลน์). ค้นข้อมูล 8 มิถุนายน 2556. แหล่งที่มา : http://www.thenpoor.ws/food/bestsell/patonggo.html
             คู่มือโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ  Ulead VideoStudio อย่างละเอียด.(ออนไลน์) ค้นข้อมูล 1 กรกฎาคม 2556.แหล่งที่มา :
ที่มาของปาท่องโก๋.(ออนไลน์). ค้นข้อมูล 8 มิถุนายน 2556. แหล่งที่มา :
                คู่มือโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ  Ulead VideoStudio อย่างละเอียด.(ออนไลน์) ค้นข้อมูล 1 กรกฎาคม 2556.แหล่งที่มา :





ลงชื่อ วรรณิกา อาจสุนทร            (นางสาววรรณิกา  อาจสุนทร)    ผู้นำเสนอโครงงาน
ลงชื่อ บงกชพร ก้อนเพ็ชร์            (นางสาวบงกชพร  ก้อนเพ็ชร์)    ผู้นำเสนอโครงงาน
ลงชื่อ อันธิกา บุญต่าย                  (นางสาวอันธิกา  บุญต่าย)           ผู้นำเสนอโครงงาน
                                                       ลงชื่อ.............................................
                                                                            (นางสาวดรุณี บุญวงค์)
                                                                             ครูที่ปรึกษาโครงงาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น